กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2357
ชื่อเรื่อง: | การประยุกต์ใช้พืชที่เก็บเกี่ยวจากระบบบึงประดิษฐ์เพื่อผลิตกระถางชีวภาพ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Biological Pots Production from The Constructed Wetland Harvested Plants |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เจริญผล, โดม คนคง, อิทธิพล |
คำสำคัญ: | บึงประดิษฐ์ กระถางชีวภาพ พืชที่เก็บเกี่ยว กกลังกา กกอียิปต์ Constructed wetland Biological pots Harvested plants Cyperus alternifolius L. Cyperus papyrus |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
บทคัดย่อ: | การเก็บเกี่ยวพืชจากระบบบึงประดิษฐ์เป็นการช่วยให้พืชเพิ่มการนำสารอาหารในน้ำเสียไปใช้ในการเจริญเติบโต และยังช่วยคงประสิทธิภาพการบำบัดมวลสารของระบบให้อยู่ในเกณฑ์ดี การศึกษานี้ต้องการหาแนวทางในการจัดการซากพืชที่เก็บเกี่ยวออก เนื่องจากพืชที่เก็บเกี่ยวออกจากระบบมีการสะสมไนโตรเจน ฟอสฟอรัสสูงจึงเหมาะสมในผลิตเป็นกระถางต้นไม้แบบชีวภาพ การทดลองนี้เปรียบเทียบการใช้ กกลังกา (Cyperus alternifolius L.) และกกอียิปต์ (Cyperus papyrus) ในการผลิตกระถาง ตัวประสานวัสดุเพื่อขึ้นรูปกระถาง ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง อัตราส่วนระหว่าง น้ำต่อแป้งมันสำปะหลังต่อพืช เท่ากับ 2:1:1 โดยน้ำหนัก กระถางที่ผลิตเป็นรูปทรงปริซึมสี่เหลี่ยมคางหมู สูง 4.5 นิ้ว ความกว้างก้นกระถาง 3.5 นิ้ว และความกว้างปากกระถาง 4.5 นิ้ว จากการทดลองพบว่า กระถางชีวถาพที่ผลิตจากพืชทั้งสองชนิดสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า 15 กิโลกรัม สามารถรับน้ำหนักของดินและพืชได้ กระถางชีวภาพที่ผลิตจากพืชทั้งสองชนิดมีปริมาณสารอาหารสะสมในกระถางใกล้เคียงกัน โดยกระถางจากกกลังกามีปริมาณไนโตรเจน 33.6 กรัม และปริมาณฟอสฟอรัส 36.2 กรัมต่อกระถางหนึ่งใบ ในขณะที่กระถางจากกกอียิปต์มีปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในกระถาง 1 ใบเพียง 56 กรัม และ 16.2 กรัม |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2357 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdf | ติดต่อ | 49.47 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น