กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2361
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสอนคิดในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Development of a Management Model for The Thinking School Under The Provincial Administrative Organization |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เหล่าไพโรจน์จารี, จุฬารัตน์ |
คำสำคัญ: | การพัฒนา การบริหารสถานศึกษา โรงเรียนสอนการคิด องค์การบริหารส่วนจังหวัด Development School Administration Thinking Schools Provincial Administrative Organization |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=2013 |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสอนคิดในสถานศึกษา สังกัดองค์กรบริหารส่วนจังหวัด และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารโรงเรียนสอนคิดในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสอนคิดในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนสอนคิดในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบและแนวทาง โดยสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนสอนคิด จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศ จำนวน 3 โรงเรียน และศึกษาองค์ประกอบและประสิทธิผลของการบริหารโรงเรียนสอนคิด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้จัดการเรียนการสอนส่งเสริมการสอนคิด จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการศึกษาเอกสาร แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis และสร้างข้อสรุป 2) การสร้างรูปแบบโดยนำข้อมูลจากชั้นตอนที่ 1 มายกร่างและตรวจสอบรูปแบบโดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน และ 3) การประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 186 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนสอนคิดในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ และระบบและกลไก ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) และข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ผลการประเมินความครอบคลุม ความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2361 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Jurarat Laopairodjari.pdf | Jurarat Laopairodjari | 9.72 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น