กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2471
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines to Promote Gastronomy Tourism Identity in Banglamung District, Chonburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิ่งนันท์สิงห์, สุธีธรรม |
คำสำคัญ: | อัตลักษณ์การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงอาหาร จังหวัดชลบุรี Tourism Indentity Gastronomy Tourism Chonburi Province |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเดินทางท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารแบบยั่งยืนในจังหวัดชลบุรี 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7P's) ที่นักท่องเที่ยวมีความต้องการในการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหาร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี จำนวน 420 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้โปรแกรมทางสถิติ การทดสอบสมมุติฐาน ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test T-test One-way A์NOVA และวิธีการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ส่วนมากเป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 20-24 ปี สถานภาพโสดมีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพ นิสิต/นักศึกษา และมีรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,001 – 15,000 บาทต่อเดือน 2) ปัจจัยที่มีผลการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานที่ท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย และด้านการเป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียง 3) ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการส่งเสริมอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร (People) ด้านกระบวนการให้บริการ (Process) และด้านผลิตภัณฑ์ (Product) และทางผู้วิจัยได้ทำการออกแบบ CITE Model ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางการส่งเสริมอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้แก่ C (Competition) การจัดการแข่งขันทำอาหารในชุมชน I (Information) การจัดทำสื่อออนไลน์เกี่ยวกับการแนะนำการท่องเที่ยวชุมชน T (Teaching Class) การจัดกิจกรรมสอนประกอบอาหารท้องถิ่น E (Exhibition) การจัดนิทรรศการอาหารท้องถิ่น |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2471 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Soothitam Kingnarnsing.pdf | Soothitam Kingnarnsing | 2.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น