กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2498
ชื่อเรื่อง: การเพาะเลี้ยงอวัยวะของต้นผีเสื้อในสภาพปลอดเชื้อ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organ Culture of Dianthus Chinensis L. in Vitro
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มาผัวะ, รุ่งนภา
คำสำคัญ: ต้นผีเสื้อ
สภาพปลอดเชื้อ
เพาะเลี้ยง
Dianthus chinensis L.
In vitro
Culture
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: เพาะเลี้ยงอวัยวะของต้นผีเสื้อ (Dianthus chinensis) ในสภาพปลอดเชื้อ 4 ส่วน คือ ยอด ใบ ข้อ และปล้องบนสูตรอาหาร MS ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโต 4 ชนิด ดังนี้ BA, NAA, IAA และ 2,4-D เพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า NAA (1 mg/L) สามารถชักนำให้เกิดรากเฉลี่ยสูงสุด 28.80±1.61 และ 23.40±3.07 รากต่อชิ้นเพาะจากส่วนยอดและใบตามลำดับ ส่วนความยาวรากเฉลี่ยสูงสุด 2.89±0.65 และ 2.82±0.76 เซนติเมตรต่อชิ้น เพาะเลี้ยงบนสูตรอาหารที่เติม IAA (1 mg/L) และ BA (1 mg/L) ร่วมกับ IAA (1 mg/L) ตามลำดับ เพาะจากส่วนข้อ และลำต้น จำนวนยอดเฉลี่ยสูงสุด 7.50±0.65 ยอดต่อชิ้น เพาะจากส่วนยอดบนสูตรอาหารที่เติม BA (1 mg/L) ทำการเพาะจากใบบนสูตรอาหารที่มี BA, NAA และ 2,4-D ไม่สามารถชักนำให้เกิดยอดได้ไม่ว่าที่ระดับความเข้มข้นใดก็ตาม ส่วนความยาวยอดเฉลี่ยสูงสุด 5.70±1.62 เซนติเมตรต่อชิ้น เพาะจากข้อบนสูตรอาหาร BA (10 mg/L) ร่วมกับ IAA (1 mg/L) เมื่อนำทั้ง 4 ส่วน พบว่า เกิดแคลลัสในส่วนของใบและยอด ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารที่มี 2,4-D (1, 5, 10 mg/L) ร่วมกับ BA (1 mg/L) พบว่า ลักษณะแคลลัสจับกันแน่นมีสีเขียว หลังเพาะได้ 5 สัปดาห์ พบว่า ลักษณะแคลลัสเปลี่ยนจากเขียวเป็นหลืองและยังจับกันแบบหลวม เมื่อเพาะบนอาหารที่ 2,4-D (1, 5, 10 mg/L) ร่วมกับ NAA พบว่า ลักษณะแคลลัสจับกันแหลวมมีเหลือง หลังเพาะได้ 4-5 สัปดาห์ พบว่า ลักษณะแคลลัสจับกันแบบหลวมมีสีเหลืองเป็นเหลืองปนขาว ขาว น้ำตาล และดำหรือเทา
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2498
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:คณะวิทยาศาสตร์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdfcontact49.47 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น