กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/496
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน: กรณีศึกษา จังหวัดพะเยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Law Enforcement of Alcohol Control of Youth: Study to Phayao Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สักลอ, อดิศักดิ์ |
คำสำคัญ: | การบังคับใช้ กฎหมายควบคุม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เยาวชน Enforcement Legal control Liquor Juvenile |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1185&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน สภาพปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน และเพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน โดยใช้การวิจัยเอกสารและการเก็บแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และการสังเกต จากกลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา จากการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน ได้แก่ การจัดการกับเครื่องดื่มที่เป็นที่สนใจของเยาวชน การควบคุมจุดขาย การจำกัดอายุผู้ซื้อและผู้ดื่มสุรา การกำหนดอัตราภาษีที่สูงเป็นพิเศษสำหรับเครื่องดื่มที่ดึงดูดเยาวชน และการกำหนดพื้นที่ห้ามขายสุราในพื้นที่ และในเงื่อนไขที่มีเยาวชนหนาแน่นและเข้าถึงได้ง่าย สภาพปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน พบว่า เกิดจากผู้บังคับใช้กฎหมายผู้ประกอบการ หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทัศนคติของเยาวชนเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การศึกษานี้จึงเสนอแนวทางที่เหมาะสม ในการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 เพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน มีดังนี้ 1) ควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 29 ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับอายุของผู้ซื้อ ผู้ขายสามารถแจ้งให้ผู้ซื้อแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงอายุของผู้ซื้อได้ 2) ควรกำหนดให้เก็บค่าธรรมเนียมพิเศษในอัตราที่สูงมาก กรณีจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในรัศมี 500 เมตร รอบสถานศึกษา และห้ามร้านค้าขายอาหารตามสั่ง หรือร้านค้าจำพวกโต้รุ่งที่ค้าขายริมถนนจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด 3) ควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 32 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณา หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 4) แก้ไขเพิ่มเติมบทกําหนดโทษให้ระวางโทษจำคุกและโทษปรับในจำนวนเงินที่สูงขึ้น หรือทั้งจำทั้งปรับ 5) ควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 28 ช่วงระยะเวลา ตั้งแต่เวลา 11.00–02.00 นาฬิกาของวันถัดไป ยกเว้นสถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายเฉพาะที่บริโภคในสถานที่เท่านั้น |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/496 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Adisak Saklor.pdf | Police captain Adisak Saklor | 1.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น