Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/929
Title: | การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง |
Other Titles: | Participatory Waste Management of Wat Namphuengchaoraioi Community Sala Subdistrict, Kokha District, Lampang Province |
Authors: | โพติ๊ดพันธุ์, ณัฐภัทร |
Keywords: | การมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการจัดการขยะ การเรียนรู้ร่วมกัน Public participation Waste management Learning together |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1521&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย 2) ศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการจัดการขยะของชุมชนวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย 3) เสนอแนะแนวทางการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่อื่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mix methods research) ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่ตำบลศาลา ตำบลเกาะคา ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จำนวน 5,030 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยหลักการคำนวณของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่าง 370 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จำนวน 4 คน ได้แก่ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะคา รองปลัดเทศบาลตำบลเกาะคา เจ้าอาวาสวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย และประธานกลุ่มกิจกรรมการจัดการขยะ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิดและปลายเปิด แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปางมีปัจจัยของการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการขยะอยู่ในระดับมากที่สุด (84.48%) และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะ มีระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอยู่ในระดับมาก โดยแยกเป็นรายข้อ ดังนี้ มีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหา (ค่าเฉลี่ย 4.2) มีส่วนร่วมในการวางแผน (ค่าเฉลี่ย 3.90) มีส่วนร่วมในการติดตามแผน (ค่าเฉลี่ย 3.91) มีส่วนร่วมในการรับประโยชน์ (ค่าเฉลี่ย 3.56) มีส่วนร่วมในการติดตาม และประเมินผล (ค่าเฉลี่ย 3.28) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะของชุมชน ได้แก่ การคัดแยกขยะทำได้ไม่ดีพอ ต้องการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะมากขึ้น และต้องการให้ประชาชนช่วยกันคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เริ่มตั้งแต่ที่บ้านตัวเองก่อน เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะต้นทาง และเป็นวิธีการลดปริมาณขยะที่ได้ผลดีที่สุด สำหรับแนวทางในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนวัดน้ำผึ้งชาวไร่อ้อย ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง คือ การสร้างให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของประชาชนในชุมชน และเกิดความตระหนักร่วมว่า ขยะเป็นปัญหาสาธารณะ ทำให้เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และสร้างการมีส่วนร่วมผ่านจิตสำนึกสาธารณะของคนในชุมชน โดยให้คนในชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้องโดยสมัครใจในทุกกิจกรรมทุกขั้นตอน |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/929 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Natthaphat Photidphan.pdf | Natthaphat Photidphan | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.