กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2287
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางตาล อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Quality Developing Guidelines for Child Development Center Maeyangtarn Sub-District Administrative Organization, Rongkwang District, Phrae Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ใจเอื้อ, ปิโยรส
คำสำคัญ: แนวทางการพัฒนาคุณภาพ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางตาล
The Quality developing guidelines
Child Development Center
Maeyangtarn Sub-district Administrative Organization
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=864&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางตาล อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางตาล อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ จากการศึกษา พบว่า 1) ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดำเนินการของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางตาล อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พบในด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้านบุคลากร ด้านอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน และด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย 2) ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้แก่ ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางตาล ควรส่งเสริมให้มีการสร้าง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไว้รวมกันเป็นที่เดียว เพื่อการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้ ทักษะของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างเต็มที่ และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม จัดการอาคาร สิ่งแวดล้อมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความสะดวก ปลอดภัย เอื้อต่อการทำกิจกรรม มีความเหมาะสมต่อพัฒนาการของเด็ก และมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ดี จัดกิจกรรมแบบบูรณาการ และการจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ปรับกิจกรรมการเล่นให้สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ และพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สร้างเครือข่ายระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ปกครอง ชุมชน ตลอดจนสร้างเครือข่ายระหว่างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ทั้งในระดับอำเภอ จังหวัด หรือระดับภาค
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2287
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Piyorod Jai-ua.pdfPiyorod Jai-ua995.05 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น