กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2477
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | An Approach to the Promotion of Creative Tourism in Nakhon Nayok Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัตนพันธ์ุ, ปานตะวัน |
คำสำคัญ: | แนวทางการส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายก An Approach to the Promotion Creative Tourism Nakhon Nayok province |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=2064 |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ในการเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวใน การเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก 3) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับส่วนประสมทางการตลาด การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก 4) เพื่อแสวงหาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้ค่าสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไค-สแควร์, T-test และ F-test สถิติทดสอบ One-way ANOVA ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยครั้งละคู่ โดยสุ่มตัวอย่างแต่ละชุดเป็นอิสระต่อกันด้วยวิธีของ Fisher (Least Significant Difference, LSD) เพื่อทำการทดสอบสมมติฐาน โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก พบว่า มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน/ท่องเที่ยว เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ส่วนใหญ่มีจำนวนผู้ร่วมการเดินทางมาท่องเที่ยวระหว่าง 3-5 คน เดินทางมาท่องเที่ยวในวันเสาร์-วันอาทิตย์ ส่วนใหญ่เดินทางมาท่องเที่ยวมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป มีค่าใช้จ่ายรวมในการเดินทางระหว่าง 1,001-2,000 บาท ส่วนใหญ่ศึกษาข้อมูลในการเดินทางมาท่องเที่ยวจากเพื่อน/คนอื่น ๆ ชื่นชอบในกิจกรรมผจญภัย เดินทางกลับมาเที่ยวซ้ำ มากกว่าครึ่งแนะนำให้บุคคลอื่นมาท่องเที่ยว 2) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในภาพรวมนักท่องเที่ยว มีความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสิ่งดึงดูดทางการท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ด้านการบริการเบ็ดเตล็ดด้านที่พัก และด้านกิจกรรมทางการท่องเที่ยว 3) ส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ในภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก และ 4) ผู้วิจัยนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดนครนายก ได้แก่ ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพิ่มความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพิ่มมาตรการอำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย และบริหารการท่องเที่ยวโดยใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2477 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Pantawan Rattanaphan.pdf | Pantawan Rattanaphan | 5.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น