กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2323
ชื่อเรื่อง: | ดีมานต์ เรสปอนส์ อัลกอลิทึม สำหรับระบบการจัดการพลังงานในอาคาร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Demand Response Algorithm for Building Energy Management System |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | คนแรง, จรัญ |
คำสำคัญ: | การจัดการใช้พลังงาน ระบบการบริหารพลังงานสำหรับสำนักงาน ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ดีมานต์ เรสปอนส์ อัลกอริทึม Energy management Energy management system Peak demand Demand response Algorithm |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1712&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและสร้างอัลกอริทีม โดยใช้ดีมานต์ เรสปอนส์ เป็นตัวกำหนดการจัดการพลังงานในอาคารให้สอดคล้องกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยแหล่งพลังงานไฟฟ้าได้มาจาก 2 แหล่ง คือ จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) และจากโซลาร์เซลล์ ซึ่งการนำระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เข้ามาร่วมกับแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าหลัก (PEA) เพื่อลดค่าไฟฟ้าในช่วงความต้องการสูงสุดแบบอัตโนมัติ ในการทดลองมีค่าการใช้กำลังไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 7.61 กิโลวัตต์ และกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ขนาด 5 กิโลวัตต์ โดยจะให้ความสำคัญกับการจัดการ โหลดประเภทเครื่องปรับอากาศที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด และสามารถหยุดทำงานได้บางช่วงเวลา โดยไม่กระทบต่อการทำงาน และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ ในช่วงที่มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด โดยพบว่า การควบคุมเครื่องปรับอากาศทำงานห่างกัน 15 นาที ร่วมกับการใช้ไฟฟ้าจากชุดผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จะช่วยให้สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้สูงถึงร้อยละ 80.28 ของการใช้ไฟฟ้าในสภาวะปกติเดิมของสำนักงาน และผลจากการทดสอบ พบว่า สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้จริง จึงนำมาเขียนอัลกอริทึมสำหรับออกแบบอุปกรณ์ควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้า ในช่วงความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด โดยมีโหลดทางไฟฟ้า รวมทั้งสิ้น 1.635 กิโลวัตต์ และใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์ซลล์ขนาด 1.5 กิโลวัตต์ ผลการทดสอบ พบว่า เมื่อมีการใช้พลังงานไฟฟ้าเกิน ค่าที่ตั้งไว้ระบบจะทำเชื่อมต่ออัตโนมัติ โดยการใช้อุปกรณ์ควบคุมการใช้พลังงานสำหรับระบบการจัดการพลังงานในอาคาร ช่วยประหยัดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าร้อยละ 3.73 และเมื่อนำไปทดสอบกับอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภท อินดัคตีฟ ส่งผลทำให้ค่าปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงร้อยละ 63.89 |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2323 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ปริญญาเอก(Doctoral Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Jarun Khonrang.pdf | Jarun Khonrang | 3.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น